- ควร เลือกรับประทานผักผลไม้ให้หลากหลายสีสัน หรือรับประทานให้ครบทั้ง 5 สี เนื่องจากผักผลไม้แต่ละสีจะมีคุณค่าทางอาหารที่แตกต่างกันออกไป ไม่ควรรับประทานผักผลไม้ซ้ำๆ เดิมๆ
- ให้เลือกรับประทานผักผลไม้โดยดู จากความหวาน โดยควรเลือกรับประทานชนิดที่มีรสหวานจัด (ขนุน, ลิ้นจี่, มะม่วงสุก, ทุเรียน, ลำไย), รสหวานปานกลาง (เงาะ, มะม่วงดิบ, ส้ม, สับปะรด,), และรสหวานน้อย (ชมพู่, ส้มโอ, แอปเปิ้ล) สลับกันไป ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากจนเกินไปด้วย
- เปลือก ผลไม้บางชนิดก็มีประโยชน์มากนะครับ ปอกทิ้งไปก็เสียดาย อย่างเช่นเปลือกแอปเปิ้ล นักวิจัยพบว่าเปลือกแอปเปิ้ลแดงหนึ่งผลมีสารต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่ากับ วิตามินซี 820 มิลลิกรัม หรือเปลือกมันฝรั่งที่อุดมไปด้วยไปใยอาหารและแร่ธาตุบางชนิดมากกว่าเนื้อมัน ฝรั่งเสียอีก เป็นต้น
- ก่อนนำผักผลไม้มารับประทานคุณควรนำมาล้างให้ สะอาดเสียก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ รวมถึงยาฆ่าแมลงด้วยครับ อ่านบทความเรื่องการล้างผักได้ที่ 16 วิธีการล้างผักผลไม้ให้สะอาด
- เลือกรับประทานผักผลไม้ตามกรุ๊ปเลือดที่เหมาะสมกับร่างกายตัวเอง ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ
- กรุ๊ป A คนกรุ๊ปนี้จะมีปริมาณกรดในกระเพาะต่ำ ระบบย่อยทำงานไม่ดีเท่าที่ควร จึงไม่เหมาะกับอาหารจำพวกเนื้อหรือนม แต่จะเหมาะกับอาหารมังสวิรัติจำพวกผักผลไม้ และควรเลือกรับประทานผักผลไม้ที่ช่วยเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เช่น สับปะรด เชอร์รี่ เป็นต้น
- กรุ๊ป B คนกรุ๊ปนี้เป็นคนอ้วนง่าย เพราะร่างกายมีระบบย่อยดี แต่เผาผลาญได้ไม่ดี มักมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันไม่ค่อยดี เป็นภูมิแพ้ หรือเป็นหวัดง่าย และมักปวดตามข้อ จึงแนะนำให้รับประทานผลไม้ที่ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย เช่น กล้วย มะละกอ องุ่น เป็นต้น
- กรุ๊ป O คนกรุ๊ปนี้กระเพาะอาหารจะมีกรดในปริมาณมาก จึงเหมาะกับการย่อยเนื้อสัตว์ แต่ระบบเผาผลาญไม่ดี จึงทำให้อ้วนได้ง่าย จึงแนะนำให้รับประทานผลไม้ที่มีความเป็นกรดน้อยไปช่วยสร้างสมดุลในกระเพาะ ได้ โดยจะไม่ทำให้กระเพาะเกิดการระคายเคือง เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ และเกรปฟรุต เป็นต้น
- กรุ๊ป AB คนกรุ๊ปนี้มักมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันและมีกรดในกระเพาะต่ำ ควรรับประทานผักผลไม้และเนื้อให้มีความสมดุลกัน เพื่อช่วยรักษาสมดุลในกระเพาะอาหาร เช่น พลัม สับปะรด ส้มโอ องุ่น และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เป็นต้น
- สัดส่วนของการรับประทานผักผลไม้ต่อวันคือ ให้รับประทานผัก 3 ส่วน และผลไม้อีก 2 ส่วน (รับประทานผักมากกว่าผลไม้)
- ผัก ผลไม้บางอย่างอาจมีสารพิษในตัวมันเอง ถ้ารับประทานในปริมาณน้อยก็อาจจะไม่ก่อให้เกิดพิษ แต่หากรับประทานในปริมาณมากอาจจะเป็นพิษได้ หรือบางชนิดก็รับประทานแบบดิบๆ ไม่ได้ ต้องนำมาทำให้สุกหรือผ่านกระบวนการให้ความร้อนเสียก่อน สารพิษจึงจะสลายตัว
- ผักผลไม้บางชนิดอาจมีสารหรือแร่ธาตุบางชนิดใน ปริมาณสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดโทษกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางโรคได้ ซึ่งผู้ป่วยเรื้อรังก็ควรพึงระวังด้วยครับ เช่น ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักผลไม้ที่มีกรดออกซาลิกสูง (Oxalic acid) เช่น มันสำปะหลัง ผักโขม ผักแพว ปวยเล้ง ใบชะพลู แครอท เป็นต้น หรือผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ถั่วฝักยาว ผักกูด ผักแว่น แมงลัก กะเพรา เป็นต้น หรือผู้ป่วยโรคไทรอยด์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกะหล่ำปลี เป็นต้น (โดยเรื่องนี้เราจะกล่าวโดยละเอียดในบทความหน้าครับ จะได้ทราบว่าผู้ป่วยโรคใดบ้างที่ควรงดรับประทานผักผลไม้บางชนิด และทำไมถึงควรงดรับประทาน)
วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558
วิธีเลือกรับประทานผลไม้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น